ถ.วิภาวดี-รังสิต แขวงสามเสนใน,
เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

02-278-1870
[email protected]

ตราสัญลักษณ์ สวพ.ทบ.

ประวัติ พระพิฆเนศวร์

จากคัมภีร์ปุราณะและอุปปุรานะ  ได้กล่าวถึงกำเนิดของท่านว่าถือกำเนิดมาจากพระศิวะและ พระนางปารวตี เป็นเทพในศาสนาฮินดูซึ่งมีกายเป็นคน เศียรเป็นช้างว่า “ครั้งหนึ่ง ชยาและวิชยาพระสหายของพระนางปารวตีได้แนะนำพระนางว่าแม้พระนางจะมีนนทิ ( NANDI ) และบริวารอื่นๆ ของพระศิวะแล้ว แต่ถ้าพระนางจะมีคนใช้ของพระนางเองก็จะดีขึ้นพระนางก็เห็นด้วย ครั้งเมื่อพระนางกำลังสรงน้ำอยู่ก็นึกถึงคำเตือนของพระสหายจึงนำเหงื่อไคลจากพระฉวีมาสร้างเป็นบุรุษรูปงามนามว่า พระพิฆเนศวร์โดยถือเป็นพระโอรสด้วย และสั่งให้เฝ้าอยู่หน้าประตูห้ามมิให้ใครเข้ามาโดยมิได้อนุญาต วันหนึ่งพระศิวะ ได้เสด็จมายังที่ประทับของพระนางปารวตี  พระพิฆเนศวร์จึงได้ขัดขวางไว้อย่างแข็งขัน  พระศิวะทรงพระพิโรธอย่างหนักทรงสั่งให้ภูตคณะของพระองค์สังหารพระพิฆเนศวร์เสียแต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้พระนางปารวตีได้ส่งเทพยดา 2 องค์มาช่วยพระวิษณุใช้อุบายจึงสามารถตัดเศียรพระพิฆเนศวร์ได้ พระนางปารตีทรงพระพิโรธมากได้ส่งเทพยดาจำนวนมากไปก่อกวน  จนเกิดเรื่องใหญ่ถึงฤษีนารทะต้องมาห้ามอ้อนวอนขอให้พระนางสงบศึก  พระนางจึงขอสัญญาว่าถ้าพระโอรสของพระนางคืนชีพขึ้นมาก็หยุดทันที พระศิวะจึงสั่งให้เทวดาเดินไปทางทิศเหนือ นำศีรษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อเข้ากับศอพระโอรสของพระนางปารวตี เทวดาได้นำเศียร ของช้างที่มีงาข้างเดียวมาต่อกับศอพระพิฆเนศวร์ พระพิฆเนศวร์จึงได้นามว่า คชานนะ แปลว่า มีหน้าที่เป็นช้างและเอกทันตะ แปลว่า มีงาข้างเดียว ครั้นฟื้นขึ้นมาพรพิฆเนศวร์ได้ขอโทษต่อพระศิวะและเทวดาอื่นๆ ทำให้พระศิวะพอใจประสาทพรให้พระพิฆเนศวร์มีอำนาจเหนือภูตผีทั้งหลาย และแต่งตั้งให้เป็นคณปิติ  ( ผู้มีอำนาจ – ผู้ยิ่งใหญ่ ) ด้วยเหตุนี้พระพิฆเนศวร์จึงได้รับนามใหม่อีกหลายนาม คือ คชานะนะ ,เอกทันตะ และคณะปติ จากคติความเชื่อที่ว่าเป็นเทพแห่งอุปสรรคผู้สามารถบันดาลให้เกิดหรือขจัดเสียอุปสรรคทั้งปวงและอำนาจความสำเร็จให้บังเกิดขึ้นชาวฮินดูส่วนใหญ่ก่อนการประกอบพิธีกรรมพิธีรวมทั้งเล่าเรียนศิลปวิทยาจำต้องบูชาพระพิฆเนศวร์เป็นเบื้องแรกเพื่อขอความปลอดภัยให้พ้นการขัดข้องและเพื่อขอความสำเร็จผลในกิจการนั้นๆ ทำให้การบูชาพระพิฆเนศวร์แพร่หลายออกไป

          รูปเคารพของพระพิฆเนศวร์ มักพบได้ทั่วไปในอินเดียและแพร่หลายออกไปในหลายๆ ประเทศแถบเอเซีย  เช่น เนปาล จีน ชวา บอร์เนียว พม่า ไทย ลาว เวียตนาม เขมร รวมทั้งธิเบต และญี่ปุ่น ในประเทศไทย ความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์ได้วิวัฒนาการจากคติของเทพแห่งอุปสรรค ไปสู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา ดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไป มีการสร้างรูปเคารพตลอดจนใช้เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันและหน่วยงานต่างๆ หลายแห่ง เช่น ศิลปากร เป็นต้น การวิจัยจัดเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล และประสานงานเพื่อให้การวิจัยสามารถดำเนินไปได้จนบรรลุวัตถุประสงค์ จึงได้นำพระพิฆเนศวร์มาเป็นสัญลักษณ์

          สัญลักษณ์แต่เดิมของสำนักงานประสานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ( สวพ.ทบ.)  เป็นรูปพระพิฆเนศวร์ประทับนั่งบนอาสนะอยู่ภายในกงจักร ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นรูปพระพิฆเนศวร์ประทับนั่งช่อชัยพฤกษ์อยู่ใต้ฐานที่ประทับ มีหนึ่งเศียรงาข้างซ้ายงาเดียวหันพระพักตร์ไปทางขวาทรงประทับ นั่งบนอาสนะ ห้อยพระบาทซ้ายวางบนฐาน ส่วนพระบาทขวาพับอยู่บนอาสนะกรของพระพิฆเนศวร์   มี 4 กร ดังนี้                             

           -          หัตถ์ซ้ายเบื้องบนถือ ดอกบัว หมายถึง ความสวยงาม ละเอียดอ่อนสัญลักษณ์ของการรจนาหนังสือ

-          หัตถ์ซ้ายเบื้องล่างถือ บ่วงบาศ หมายถึง การเป็นบรมครู เป็นใหญ่ในสรรพช้างกว่าผู้ใดทั้งปวง

-          ส่วนหัตถ์ขวาบนถือ คบเพลิง หมายถึง แสงสว่าง การศึกษาค้นคว้าวิจัยทำให้เกิด ความก้าวหน้าความเจริญรุ่งเรือง 

-          ส่วนหัตถ์ขวาล่างถือ งาข้างขวาที่หัก หมายถึง เป็นเทพศัสตราสำคัญสิ่งหนึ่งของ พระพิฆเนศวร์เป็นอาญาสิทธิ์ที่ผู้มีอำนาจมอบให้