The Army Research and Development Office

รายละเอียดอื่นๆ ตาราง: ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์

กลับไปยังรายการ 

หมวดหมู่
สิ่งประดิษฐ์ทางทหาร
ชื่อสิ่งประดิษฐ์
ที่รองในหมวก พธ.๑ (Helmet pad)
หน่วยเจ้าของโครงการ
กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์
หน่วยใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ

๑. ชื่อผลงาน : ชื่อภาษาไทย : ที่รองในหมวก พธ.๑
ชื่อภาษาอังกฤษ : Helmet pad
๒. ส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ (ในการดำเนินการคิดค้นหรือประดิษฐ์)
๒.๑ หน่วยงาน : กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์ ๒๕๒ หมู่ ๑ ต.เขาสามยอด อ.เมือง จว.ลพบุรี ๑๕๐๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๖ - ๔๑๑๒๕๑ , โทร ทบ.๓๗๒๖๓ – ๔
๒.๒ กำลังพล / บุคลากร : พ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๖ - ๔๑๑๒๕๑ , โทร ทบ.๓๗๒๖๓ – ๔ และแม่บ้านชุมชนเอราวัณ ๓๑๓ โดยใช้สถานที่ดำเนินการ ณ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชุมชนเอราวัณ ๓๑๓
๒.๓ งบประมาณ : ๑๐๐ บาท / ๑ ชุด
๓. ที่มาและความจำเป็น : ร.๓๑ พัน.๓ รอ. เป็นหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วของกองทัพบก ทำการฝึกได้ทุกสภาพภูมิประเทศและทุกสภาวะอากาศ และฝึกเหมือนที่จะรบ แต่เนื่องจาก หมวก พธ.๑ ที่หน่วยได้รับมานั้น เมื่อสวมใส่เป็นเวลานานแล้ว เส้นเชือกหรือรังผึ้งของหมวกจะกดศีรษะผู้ใส่ทำให้เกิดอาการปวด – เจ็บ
๔. ประโยชน์ที่ได้รับ : เมื่อจัดทำที่รองในหมวกแล้วทำให้ไม่เกิดอาการปวด – เจ็บที่ศีรษะ และสวมใส่ได้เป็นเวลานาน
๕. คุณลักษณะทั่วไป : ใช้วัสดุที่เป็นผ้าซับเหงื่อ บุรองในด้วยฟองน้ำหนาประมาณ ๑.๕ ซม. มีทั้งหมดจำนวน ๗ ชิ้น ยึดกับตีนตุ๊กแก
๖. หลักการ / วิธีการและขั้นตอน : ดำเนินการตัดเย็บโดยแม่บ้าน ร.๓๑ พัน.๓ รอ.
๗. การนำ (ผลงาน ฯ ) ไปใช้งาน : หน่วยได้ทดลองการใช้งานแล้วสามารถใช้งานได้ดี และแนะนำให้กำลังพลนำไปใช้ประโยชน์หรือจัดทำได้
๘. ปัญหา / ข้อขัดข้อง (จากการนำไปใช้งานที่ผ่านมา) : -
๙. ข้อเสนอแนะ (เพิ่มเติมจากการนำไปใช้งานที่ผ่านมา) : เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับบาดเจ็บและเกิดอาการมึนงง จึงเห็นควรจัดทำรองในหมวก พธ.ดังกล่าว
๑๐. แนวทางในการขยายผล (เพื่อนำไปสู่การผลิตหรือการพัฒนา ) : หน่วยมีความพร้อมในการผลิตและการพัฒนาเนื่องจากหน่วยมีศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเอราวัณ ๓๑๓ เป็นศูนย์รวมแม่บ้าน ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการปักเย็บ สิ่งประดิษฐ์ทางทหาร ซึ่งหน่วย ร.๓๑ พัน.๓ รอ. มีความพร้อม
ในการให้การสนับสนุนอย่างเต็มขีดความสามารถ
หมายเหตุ เก็บข้อมูล เมื่อ ๑ พ.ย.๕๓
 

รายละเอียด
ไฟล์ที่แนบ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
วันที่
22/02/2011
ผู้บันทึก
37
ภาพสิ่งประดิษฐ์

 

 กองสารสนเทศการวิจัย สวพ.ทบ. โดย พ.อ.วินุชา มโหธร